งาน Drupa 2016 ที่ผ่านมา ถึงแม้ได้ลดจำนวนวันลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และจำนวนผู้เข้าดูงานไม่ถึงเป้าตามที่คาดไว้ก็ตาม แต่การจัดแสดงก็ยังมีความหมายแก่นักธุรกิจที่เข้าชมงาน อาทิ ได้เห็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ รูปแบบใหม่ของธุรกิจไปสู่นวัตกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม และการเชื่อมโยงเข้าสู่โลกดิจิทัลที่เรียกว่า Multichannel และที่น่าสนใจคือ การนำเสนอแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 จากการนำเสนอของบริษัทใหญ่ ๆ ซึ่งจะเห็นว่า เวลานี้แทบทุกอุตสาหกรรมในบ้านเราต้องปรับตัวเช่นกัน เนื่องจากความร้อนแรงทางธุรกิจเหมือนที่ผ่านมาในอดีตคงจะไม่กลับมาอีกแล้ว และสิ่งที่อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยกำลังประสบอยู่คือ การแข่งขันด้านราคาอย่างดุเดือด ทำให้การตัดสินใจที่จะเดินหน้าหรือทำอะไรใหม่คาดการณ์ได้ยาก
งาน Drupa ครั้งนี้ ได้สื่อเป็นนัยว่า ธุรกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับการทำงานเข้าสู่ระบบออโตเมชันและเครือข่าย บริหารงานแบบบูรณาการทุกขั้นตอนเข้าด้วยกัน มีระบบจัดการบริหาร MIS/ERP เชื่อมโยงเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์หลังพิมพ์ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดการใช้แรงงาน เพิ่มช่องทางการตลาด คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
สถานภาพอุตสาหกรรมการพิมพ์โลก
ตลาดงานพิมพ์โลกโดยรวมมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและอเมริกาใต้ยังเติบโตอยู่ ทำให้ประเทศจีนและอินเดียก้าวสู่ Top 5 ของโลกในปีที่ผ่านมา แต่ถ้าวิเคราะห์กันในตลาดงานพิมพ์แต่ละประเภทแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจบรรจุภัณฑ์และกลุ่มธุรกิจงานหลังพิมพ์ยังมีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผู้ให้บริการธุรกิจในส่วน One stop service ดังข้อมูลจากสถาบัน PRIMIR World Wide Market for Print ระหว่างปี 2009 – 2015 ในตารางที่ 1 และ 2
ตารางที่ 1 มูลค่าตลาดงานพิมพ์ชั้นนำของโลก 2009-2015 (พันล้านเหรียญสหรัฐ)
ลำดับที่ |
ประเทศ |
2009 |
2014 |
2015 |
1 |
สหรัฐอเมริกา |
$198.2 |
$185.9 |
$180.2 |
2 |
จีน |
58.6 |
97.6 |
115.5 |
3 |
ญี่ปุ่น |
99.2 |
91.1 |
89.7 |
4 |
เยอรมนี |
41.2 |
33.8 |
32.7 |
5 |
อินเดีย |
16.3 |
22.8 |
30.4 |
6 |
อังกฤษ |
32.9 |
27.8 |
25.8 |
7 |
บราซิล |
15.5 |
20.5 |
24.4 |
8 |
ฝรั่งเศส |
26.9 |
25.5 |
24.8 |
9 |
อิตาลี |
27.5 |
24.7 |
21.0 |
10 |
แคนาดา |
21.8 |
18.9 |
18.0 |
11 |
สเปน |
16.2 |
15.0 |
12.5 |
12 |
เกาหลีใต้ |
14.4 |
12.4 |
11.3 |
ตารางที่ 2 มูลค่ารายได้ของผู้ประกอบธุรกิจงานพิมพ์โลก 2008 – 2015 (พันล้านเหรียญสหรัฐ)
ประเภทผู้ประกอบธุรกิจ |
2008 |
2015 |
บรรจุภัณฑ์ | $181.6 | $220.1 |
หนังสือพิมพ์ | 48.8 | 42.0 |
บริการงานพิมพ์ในโรงงาน (in-plant reproduction) | 41.5 | 39.1 |
คอมเมอร์เชียล | 366.0 | 358.9 |
บริการงานพิมพ์ให้ธุรกิจอื่น ๆ เช่น งานพิมพ์ปลอดปลอม / ใบแจ้งหนี้ ฯลฯ (business support services, BBS) | 35.2 | 31.0 |
งานพิมพ์ด่วน | 9.0 | 7.9 |
งานก่อนพิมพ์ (prepress) | 16.0 | 15.5 |
งานหลังพิมพ์ (post press) | 16.6 | 18.1 |
งานพิมพ์ดิจิทัล ถ่ายเอกสาร (copy shops) | 12.1 | 10.4 |
One stop service – มีการทำการตลาดจากผู้ให้บริการธุรกิจ | 14.2 | 17.3 |
รวม |
741.0 | 760.3 |
ทิศทางของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย
อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่ตลาดการพิมพ์ยังเติบโต ไม่ว่าในประเทศจีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งในอาเซียนเองก็ตาม ผู้ประกอบการจึงควรมองตลาดภายนอกกับตลาดภายในไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งรายงานระบุว่า ร้อยละ 30 ของมูลค่าตลาดงานพิมพ์โลกอยู่ในทวีปเอเชีย พอ ๆ กับตลาดในทวีปอเมริกาเหนือ รองลงมา ร้อยละ 27 อยู่ที่ยุโรปตะวันตก มีการคาดการณ์กันว่าอาเซียนจะเป็นฮับการผลิตและผู้นำการบริโภคสิ่งพิมพ์ของโลกอย่างแน่นอน และเมื่อถึงตอนนั้นอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยจะต้องพร้อม การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการตลาดยังไม่สายที่จะเริ่ม ซึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ในงานดรูปา 2016 นี้ แสดงให้เห็นถึงการยกระดับอุตสาหกรรมการพิมพ์เทียบชั้นกับอุตสาหกรรมหลักของโลกแล้ว เช่น รถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ถ้าผู้ประกอบการไทยไม่ศึกษาดี ๆ ก็อาจจะเสียโอกาสไปได้……..
อ้างอิงรูปภาพจาก : https://www.labelandnarrowweb.com/issues/2016-07-01/view_features/drupa-2016-a-lsquo-resounding-success-rsquo–308294