อุตสาหกรรมการพิมพ์อินโดนีเซีย

990 คนเข้าชม

 

 

 

 

 

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน ประกอบด้วย 13,000 เกาะ ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 250 ล้านคน มีรายได้ครัวเรือน 3,974 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี การขยายตัวของเศรษฐกิจ 5.5-6.5 % ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ในส่วนของอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้มีการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการก่อตั้งเป็นสมาคมการพิมพ์และสื่ออินโดนีเซีย (PPGI) เมื่อปี พ.ศ. 2517 มีสมาชิก 959 บริษัท กระจาย 23 สาขา อยู่ใน 33 จังหวัด ในขณะที่ทั่วประเทศมีโรงพิมพ์ทั้งหมด 26,000 แห่ง ที่ลงทะเบียนกับภาครัฐ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่

ที่น่าสนใจคืออุตสาหกรรมกระดาษเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนที่มีความสำคัญต่อประเทศอย่างยิ่ง โดยมีโรงงานทั้งหมด 65 แห่ง กำลังการผลิตรวมของกระดาษพิมพ์สูงถึง 10 ล้านตันต่อปี  เป็นการบริโภคในประเทศเพียงร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือเป็นการส่งออก

กลุ่มธุรกิจหลัก Core Business

แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

  • กลุ่มพิมพ์หนังสือเรียน เมื่อปี 2560 รัฐใช้จ่าย 4 พันล้านเหรียญสหรัฐในการจ้างผลิตหนังสือ มีนักเรียนทั่วประเทศระดับประถมและมัธยมมากกว่า 50 ล้านคน และจำนวนยอดพิมพ์หนังสือเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าในปี 2561 นี้ จะมียอดพิมพ์ 120 ล้านเล่ม และในปีหน้าจะเพิ่มเป็น 158 ล้านเล่ม ยังไม่รวมการผลิตหนังสือเรียนจากภาคเอกชนที่ผลิตเพิ่มอีกประมาณ 60 ล้านเล่มในปี 2561 นี้
  • กลุ่มพิมพ์ฉลากและบรรจุภัณฑ์ กลุ่มนี้สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการสูงถึง 23 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2560 ซึ่งประมาณการไว้ว่าตลาดฉลากและบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในอีก 2-3 ปีข้างหน้ามีโอกาสเติบโตสูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี
  • กลุ่มพิมพ์งานทั่วไป กลุ่มนี้ได้แก่ งานพิมพ์คอมเมอร์เชียล โฆษณา นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์ มีรายงานว่าธุรกิจกลุ่มนี้กำลังได้รับผลกระทบจากสื่อดิจิทัล คงไม่แตกต่างไปจากประเทศไทยในเวลานี้ ยกเว้นงานพิมพ์ดิจิทัล มีรายงานว่าตลาดสิ่งพิมพ์กลุ่มนี้ลดลงไปบ้างแต่ไม่มากนักสำหรับประเทศที่เป็นเกาะอย่างอินโดนีเซีย ประกอบกับบางส่วนของพื้นที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินทอร์เน็ตได้ ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงมีบทบาทอยู่  มูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 12-13 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2560 แต่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 3-5 ต่อปี นับจากนี้ไป ทั้งนี้ภาครัฐฯจะต้องพยายามควบคุมตลาดงานพิมพ์ไม่ให้ได้รับผลกระทบมากต่อผู้ประกอบการของประเทศ

จุดแข็ง / จุดอ่อน / โอกาส / อุปสรรค

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมการพิมพ์และสื่ออินโดนีเซีย ได้สรุปจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และ อุปสรรค ของอุตสาหกรรมการพิมพ์ในประเทศอินโดนีเซีย ที่น่าสนใจ มีดังนี้

จุดแข็ง

จุดอ่อน 

ตลาดภายในประเทศกำลังเติบโต การพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้ราคาเป็นตัวตัดสิน
รัฐบาลเพิ่มงบประมาณทุกปีในการศึกษาของประเทศ มีการแข่งขันสูง
จำนวนประชากรมาก ราคากระดาษขึ้นลงตามกลไกตลาดสากล ไม่กำหนดเองภายในประเทศ

 

อุตสาหกรรมกระดาษมีขนาดใหญ่สนับสนุนอุตสาหกรรมการพิมพ์

 

โอกาส

อุปสรรค

ประเทศอินโดนีเซียมีตลาดงานพิมพ์ที่ใหญ่ ขั้นตอนกระบวนการเสียภาษีและนำเข้าเครื่องจักร/วัสดุทางการพิมพ์ ยุ่งยาก
การบริโภคสิ่งพิมพ์ของประชากรมีการขยายตัวต่อเนื่อง ราคากระดาษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
หนังสือเรียนที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าไม่ต้องเสียภาษี สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคม

สาระน่ารู้แนะนำ

เมนู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า