แม่พิมพ์สกรีนแบบหนา

2,282 คนเข้าชม

 

 

 

 

 

งานพิมพ์สกรีนที่ใช้แม่พิมพ์สกรีนแบบหนา ได้แก่ งานพิมพ์หมึกพลาสติซอลสำหรับแม่พิมพ์สกรีนนี้จะมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับแม่พิมพ์สกรีนโดยทั่วไป คือกรอบสกรีน ผ้าสกรีน ฟิล์มหรือกาวอัดที่ใช้ทำแม่พิมพ์ สกรีนซึ่งในแต่ละองค์ประกอบนี้จะมีลักษณะเฉพาะบางประการที่แตกต่างกัน เช่นกรอบจะต้องมีความแข็งแรง รับแรงตึงได้สูงกว่างานพิมพ์ทั่วไปผ้าสกรีนอาจจะต้องใช้ผ้าสกรีนเบอร์ต่ำสำหรับหมึกพลาสติซอลบางประเภทหรือแม้กระทั่งฟิล์มและกาวอัดที่ใช้ทำแม่พิมพ์สกรีนจะต้องมีชั้นของฟิล์ม หรือกาวอัดที่หนามาก เป็นต้น โดยสามารถแยกรายละเอียดและวิธีการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบหนาได้ดังนี้

การเลือกกรอบสกรีน
กรอบสกรีนที่มีคุณภาพสูงและทนทานมักราคาแพงแต่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนมาใช้กรอบอลูมิเนียมกันมากขึ้นซึ่งเป็นกรอบที่สามารถรับแรงต่างๆได้ดี โดยเฉพาะแรงที่เกิดจากแรงดึงของผ้าสกรีน ซึ่งจะกระจายไปทั่ว 4 ด้านของกรอบสกรีนในกรณีที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า กรอบด้านยาวจะโค้งเข้ามากกว่ากรอบด้านสั้นซึ่งในกรณีนี้จะต้องคำนึงถึงโครงสร้างและขนาดของอลูมิเนียมรวมถึงคุณภาพของอะลูมิเนียมด้วยการขึงผ้าสกรีนสำหรับงานพิมพ์หมึก Plastisolชนิดพิเศษในการขึงผ้าสกรีนมีสิ่งที่เกี่ยวข้องและควรจะเรียนรู้ก่อนการขึงผ้าสกรีนคือคุณสมบัติของกรอบสกรีน และผ้าสกรีนแต่ละประเภท ซึ่งพอสรุปได้คือต้องเลือกผ้าสกรีนที่มีเบอร์ และประเภทของผ้าสกรีนให้เหมาะสมกับงานตัวอย่างเช่น ใช้ผ้าสกรีนเบอร์ 15-160 และผ้าสกรีนเบอร์ 15-260จะสังเกตได้ว่าตัวเลข 160 และ 260 ที่อยู่ตามหลังเลข 15นั้นจะบ่งบอกขนาดของลำด้าย ซึ่งจะเห็นว่า 160 จะเป็นเส้นด้ายที่เล็กกว่า 260 ซึ่งแน่นอนว่าลำด้าย 160 จะต้องมีรูเปิดมากกว่าอีกลำด้ายหนึ่ง เมื่อรูเปิดมากกว่า หมึกก็ต้องลงมากกว่าซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้หมึกหนาเป็นพิเศษแนวทางในการขึงผ้าสกรีน

– ความตึงควรเท่ากันทั่วทั้งบล็อกสกรีน
– เส้นด้ายของผ้าสกรีนควรจะขนานกันตลอดทั้งเส้นด้ายแนวตั้ง (Warp) และเส้นด้ายแนวนอน (Weft) ของผ้าสกรีน
– บล็อกสกรีนควรจะมีความตึงเพียงพอที่จะดีดตัวขึ้นเมื่อมีการกดขณะพิมพ์
– ความตึงของผ้าสกรีนควรคงที่ให้นานที่สุด
– การเคลือบกาวอัดให้หนา (The Coating Thickness)การเคลือบกาวอัดบนผ้าสกรีนให้มีความหนานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยมาประกอบกันหลายประการคือ
– ผ้าสกรีนที่ใช้ต้องเป็นเบอร์ต่ำๆ
– เนื้อ (Solid Content) ของกาวอัดที่ใช้ต้องสูง
วิธีการปาดกาวอัด
ในการทำบล็อกสกรีนที่มีความหนามากกว่าทั่วไปโดยใช้กาวอัดต้องเลือกกาวอัดโดยเฉพาะมาใช้ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับหมึก Plastisol ชนิดพิเศษได้เป็นอย่างดี จะให้ความหนาตั้งแต่ 100 – 2000 ขึ้นอยู่กับวิธีการปาดกาว การใช้ผ้าเบอร์ต่ำ และความตึงของผ้าต้องไม่ต่ำกว่า 25 N/cm

การปาดกาวสามารถปาดกาวให้ทั่วด้วยมือ และปาดกาวด้วยเครื่อง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

– ปาดด้านพิมพ์ 2 ครั้ง
– ปาดด้านยางปาดตามจำนวนครั้งที่ต้องการ โดยที่กาวอัดยังไม่แห้งตัว
ส่วนที่ควรระมัดระวังคือ จะต้องปาดกาวอัดอย่างช้าๆและควรใช้รางปาดที่มีรัศมีของขอบรางปาด มิลลิเมตรหลังจากปาดกาวแล้วควรปล่อยให้แห้ง หรืออบกาวให้แห้งอย่างน้อย 12 ชั่งโมงภายใต้อุณหภูมิไม่เกิน 30 cสำหรับการถ่ายไฟ ควรใช้ไฟถ่ายแบบ MetalHalide ที่มีกำลัง 5,000 วัตต์ มีความยาวคลื่นแสง 320 – 420 นาโมมิเตอร์ระยะห่างควรลดลงมาประมาณ 2 % ซึ่งสามารถลดระยะเวลาถ่ายลงได้ 35 %ไม่ควรใช้ไฟถ่ายแบบแรงดันไอปรอท และแบบหลอดฟลูโอเรสเซนต์การทำแม่พิมพ์สกรีนด้วยฟิลม์แคพพิลลารี่ชนิดหนาหรือ ฟิลม์หนา ( ThickFilm)

นอกจากการทำแม่พิมพ์สกรีนอย่างหนาโดยใช้กาวอัดแล้ว ยังสามารถทำแม่พิมพ์อย่างหนาได้อีกวิธืหนึ่งคือใช้ฟิล์มแคพพิลลารี่ชนิดหนา ซึ่งวิธีการติดฟิล์มชนิดหนาเราประยุกต์จากวิธีการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบผสม ( The indirect direct photostencil system) มาใช้ความหนาของฟิล์มประเภทนี้มีตั้งแต่ 100 ? 400และใช้กาวอัดที่เป็นตัวประสานให้แผ่นฟิล์มติดกับผ้าสกรีน ซึ่งเป็นกาวอัดที่มีไวแสงอยู่ในตัว สามารถนำไปใช้ได้เลย

ขั้นตอนการทำพออธิบายได้ดังนี้

– ทำความสะอาดผ้าสกรีน จากนั้นทำให้ผ้าสกรีนแห้ง
– ติดฟิล์มหนา ( Thick film) โดยใช้กาวอัดติดแบบการติดฟิล์มม่วง แล้วทำให้แห้งอีกครั้ง
– เมื่อฟิล์มแห้งให้ลอกแผ่นพลาสติกออก แล้วติดแม่แบบ จากนั้นนำไปถ่ายไฟ
– เมื่อครบเวลาตามกำหนด ถอดแม่แบบ นำบล็อกไปแช่น้ำประมาณ 20 – 30 นาที แล้วนำขึ้นมาฉีดล้างลวดลาย แล้วจึงนำไปอบแห้ง
– ตรวจสอบความเรียบร้อย
รายละเอียดข้างต้นเป็นแนวทางในการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบ หนา โดยงานพิมพ์แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดในการพิมพ์ที่แตกต่างกัน เช่น ระดับความหนาของชั้นหมึกพิมพ์ที่ต้องการ ความคมชัดของงานพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งระดับความหนาของงานพิมพ์หากต้องการความแม่นยำ ก็ควรใช้ฟิล์มในการทำ เนื่องจากมีความหนาที่แน่นอน ในขณะที่ความหนาที่ได้จากการทำด้วยกาวอัดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น วิธีการปาด จำนวนครั้งในการปาด เป็นต้น แต่หากต้องการพิมพ์งานจำนวนมากก็ควรใช้กาวอัด เนื่องจากมีความคงทนมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้พิมพ์แต่ละท่านจะทราบเกี่ยวกับงานพิมพ์ของตนเอง จึงควรประยุกต์ในการทำแม่พิมพ์สกรีนแบบหนานี้ให้เหมาะกับงานพิมพ์ของตนเอง มากที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaiscreenprinting.or.th

สาระน่ารู้แนะนำ

เมนู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า