การพิจารณาปัญหาการพิมพ์ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และประสบการณ์เข้ามาช่วย จากข้อมูลในโรงพิมพ์หลายแห่งพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากวัสดุทางการพิมพ์เช่นกระดาษและหมึกพิมพ์และอีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาการตั้งเครื่องพิมพ์รวมทั้งการจ่ายหมึกและน้ำยาเฟาว์เทนที่ไม่เหมาะสมของช่างพิมพ์เอง ดังนั้นการวิเคราะห์ปัญหาการพิมพ์ช่างพิมพ์จึงต้องแยกแยะปัญหาให้ได้ว่ามาจากปัจจัยใด
การพิจารณาปัญหาการพิมพ์ออฟเซตอาจแยกออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดบนแผ่นพิมพ์ เรียกว่า Print artefacts เช่น การเกิดขี้หมึกหรือฮิกกี้ (hickeys) ถอนผิวกระดาษ (picking) หมึกกอง (ink piling) ฝ่น (dusting) ภาพหลอก (ghosting) ภาพกระดำกระด่าง(mottling) ซับหลัง (set off) มัวเร่ (moire’) กับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพไม่ได้ตามที่ต้องการเรียกว่า Print defects เช่น พิมพ์เหลื่อม (misregister) พิมพ์พร่า (slur) เม็ดสกรีนซ้อน (doubling) เม็ดสกรีนบวม (dot gain) ลายแถบสี (banding) และ สีเพี้ยนเนื่องมาจากความสมดุลของปริมาณหมึกพิมพ์และน้ำายาเฟาว์เทน (ink/water balance) ไม่ถูกต้อง และสมบตของวสดทางการพมพไมเหมาะสม เป็นต้น
กระดาษกับปัญหาการพิมพ์
จากที่กล่าวมาข้างต้น ช่างพิมพ์มักจะคิดว่าปัญหาการพิมพ์ส่วนใหญ่มาจากกระดาษซึ่งอาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้ การเลือกใช้ชนิดกระดาษพิมพ์นั้นจะต้องให้สอดคล้องกับค่าความเหนียว (tack) ของหมึกพิมพ์ที่ใช้ ความเร็วของเครื่องพิมพ์ และคุณภาพที่ต้องการรวมทั้งสมบัติของกระดาษเองที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาเช่น ความแข็งแรงของผิวหน้า (surface strength) ความพรุน (porosity) การดูดซับหมึก (ink absorbtion/requirement) การดูดซับน้ำ (water absorbtion) ความมันวาว (gloss) ความเรียบของผิว (surface smoothness) สีของผิว (color) ความขาว (whiteness ) ความสว่าง( brightness) และค่าพลังงานผิว (surface energy) เป็นต้น ขอยกตัวอย่างปัญหาการพิมพ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และอาจเกี่ยวข้องกระดาษที่กำลังใช้พิมพ์ได้ ดังนี้
- ขี้หมึกหรือฮิกกี้(Hickeys)
มีลักษณะเป็นจุดสีเข้มขนาดต่างกันเห็นเด่นชัดรูปร่างกลมหรือวงรี รอบๆเป็นขอบขาวเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีลักษณะนูนกว่าปรกติสาเหตุมาจากมีสิ่งแปลกปลอมผสมอยู่ในชั้นหมึกบนแม่พิมพ์หรือผ้ายางเช่น สะเก็ดเศษหมึกสารเคลือบหรือเส้นใยที่หลุดออกมาจากผิวหน้าของกระดาษช่างพิมพ์มักเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ขี้หมึก”
- ถอนผิวกระดาษ (Picking)
จะเห็นรอยของเส้นใยของผิวกระดาษหลุดกระจายเป็นหย่อมๆ เห็นได้ชัดในบริเวณพิมพ์พื้นทึบ ทำให้ความอิ่มตัวของสีภาพพิมพ์ลดลงมีสาเหตุมาจากผิวกระดาษพิมพ์ไม่แข็งแรง หรือหมึกที่ใช้มีค่าความเหนียวมากเกินไป หรือใช้ความเร็วในการพิมพ์สูงเกินไป
- หมึกกอง (Ink pilling)
เป็นปรากฏการณ์ที่ถ้าไม่สังเกตก็อาจไม่รู้โดยชั้นหมึกจะพอกซ้อนกันหนากว่าปรกติที่ผิวบางส่วนของลูกกลิ้งหมึกหรือแม่พิมพ์หรือผ้ายางทำให้สูญเสีย รายละเอียดของการพิมพ์บริเวณนั้นโดยเฉพาะบริเวณส่วนเงา (shadow) ของภาพ มีหลายสาเหตุทั้งมาจากหมึกพิมพ์และกระดาษ แต่ที่เกี่ยวข้องกับกระดาษคือ สารเคลือบของกระดาษไม่แข็งแรงหลุดง่ายไปผสมกับหมึกพิมพ์แล้วไปเกาะติดที่ผิวดังกล่าว เป็นฐานที่ทำให้หมึกกองหนาขึ้น
- ฝุ่น (Dusting)
เกิดจากเส้นใยหรือวัสดุขนาดเล็กที่ผิวหน้ากระดาษหลุดไปเกาะที่ผ้ายางดูดซับหมึกไปเรื่อยๆ ช่วงแรกจะทำให้เกิดจุดขาวหรือช่องว่าง (voids)
ในภาพพิมพ์เพราะหมึกไม่ถ่ายโอนไปที่แผ่นกระดาษพิมพ์ ต่อมาจะได้จุดดำแทน (dark specks) สาเหตุมาจากผิวกระดาษไม่แข็งแรง
- กระดำกระด่าง (Mottling)
เป็นปรากฏการณ์ที่ความดำของภาพพิมพ์ปรากฏไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นพิมพ์ซึ่งจะเห็นได้ชัดในบริเวณพิมพ์พื้นทึบ สาเหตุมาจากการกระจายตัวของเส้นใยในแผ่นกระดาษไม่สม่ำเสมอถึงแม้ว่ากระดาษแผ่นนั้นจะทำการเคลือบผิวด้วยสารกันซึม (sizing agents) และสารปิดรูพรุนและเพิ่มความขาว (fillers) ก็ตาม
- ซับหลัง (Set off)
เกิดจากหมึกไม่เซ็ตตัว (setting) ระหว่างส่งแผ่นกระดาษออกจากหน่วยพิมพ์ทำให้ผิดหน้าของชั้นหมึกบนแผ่นพิมพ์ยังเปียกอยู่และเมื่อแผ่นพิมพ์เหล่านั้นอยู่ซ้อนกันที่หน่วยส่งกระดาษ (delivery unit) จะทำให้บางส่วนของชั้นหมึกที่เปียกของแผ่นพิมพ์ข้างใต้ถ่ายโอนไปติดที่ด้านหลังของแผ่นพิมพ์ ข้างบนสาเหตุมาจากหมึกพิมพ์ไม่แห้งตัวหรือแห้งตัวช้า หรือกระดาษซึมซับหมึกได้ช้า เนื่องจากมีความพรุนน้อย
- ซึมทะลุ (Strike through)
เป็นปรากฏการณ์ตรงข้ามกับการเกิดซับหลังโดยหมึกพิมพ์จะซึมผ่านกระดาษได้ดีเกินไป เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความเหลวหรือกระดาษมีความพรุนสูงทำให้มองเห็นภาพปรากฏลางๆ ด้านหลังของแผ่นพิมพ์นั้นได้