ระบบการพิมพ์แบบ 4 สี (CMYK) เป็นระบบการพิมพ์ที่นำเอาแม่สี 4 สี ได้แก่ Cyan (ฟ้า), Magenta (บานเย็น), Yellow (เหลือง), และ Black (ดำ) ของภาพใดๆ มาพิมพ์ซ้อนทับกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดภาพที่มีสีสันต่างๆ ขึ้นมานั่นเอง ในทางการพิมพ์ ภาพแต่ละภาพที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปที่จริงแล้ว ประกอบไปด้วยแม่สีหลักๆ เพียง 4 ข้างต้นเท่านั้นเอง ซึ่งแม่สีหลักทั้ง 4 สีนี้ เมื่อนำมาผสม (โดยการพิมพ์ซ้อนทับกัน) ก็จะสามารถทำให้เกิดสีสันต่างๆ ได้นับล้านๆ เฉดสีทีเดียว
กระบวนการนำภาพใดๆ ไปแยกส่วนประกอบของสี เพื่อให้ได้แม่สี 4 สีหลักนี้ เรียกว่า “กระบวนการแยกสี” ซึ่งนับเป็นกระบวนการแรกของกระบวนการพิมพ์ หลังจากไฟล์งานเสร็จสมบูรณ์ระบบการพิมพ์แบบ 4 สีนี้ นับว่าเป็นระบบการพิมพ์ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน
ฉะนั้น หากเราต้องการสร้างไฟล์งานสิ่งพิมพ์ เพื่อที่จะนำไปส่งให้โรงพิมพ์แล้วหละก็ เราต้องมั่นใจว่าไฟล์งานที่เรากำลังจะส่งไปนั้น เป็นไฟล์งานที่ถูกสร้างขึ้นในโหมด CMYK. (โปรแกรมสำหรับสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Adobe Photoshop, Illustrator, หรือ InDesign จะมีโหมด CMYK ให้เราเลือกใช้อยู่แล้ว)
- ระบบออฟเซ็ต
ระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็น หมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้ แต่ราคาต่อใบจะสูงมาก
- ระบบซิลค์สกรีน
การพิมพ์ซิลค์สกรีนพิมพ์ภาพได้ไม้ค่อนดี เหมาะกับงานลายเส้น งานที่มียอดพิมพ์น้อย งานพิมพ์บนวัสดุที่พิมพ์ยาก เช่น สติกเกอร์ ไม้ แก้ว หนัง ผ้าและแผ่นซีดี นิยมใช้พิมพ์นามบัตรด้วย เพราะนามบัตรยอดพิมพ์น้อย
- การพิมพ์ดิจิตอล
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้พัฒนาให้มีความคมชัดและให้มีความ แพร่หลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องปริ้นท์เตอร์ใช้ทั่วๆ ไป หรือเป็นเครื่องดิจิตอลขนาดใหญ่ แต่ต้นทุนต่อแผ่น จะสูง แต่เหมาะกับงานพิมพ์ไม่กี่ใบ และสามารถสั่ง พิมพ์ได้ง่าย อนาคตมีแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยี ให้สูงขึ้นและราคาถูกลง
การนับสี มีหลักการอยู่ว่า 1 เพลท คือ 1สี อย่าเพิ่งตกใจครับ เพราะภาพหรืองานต่างๆ ที่เห็นจะใช้แค่ 4 เพลท หรือที่เขาเรียกกันว่างาน 4 สี นั้นเอง เคยเล่นผสมสีตอนเด็กใช่ไหมครับ ใช่เลยหลักการเดียวกัน แม่สี 3 สี และ สีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้ คล้ายกันครับแต่งานพิมพ์ก็จะมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามา ตามความต้องการใช้งานครับ เช่นสีทอง สีเงิน ซึ่งเป็นสีพิเศษต้องเพิ่มเพลท นับเพิ่มให้เป็น 1 สี เรามาทำความเข้าใจ กับการนับสีครับ
พิมพ์ 1 สี การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่น หนังสือเล่มทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียว จะพิมพ์สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้ หลายระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์ จางๆ ก็จะได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียว พิมพ์สีนํ้าตาลสีเดียว พิมพ์สีนํ้าเงินสีเดียว พิมพ์สีเขียวสีเดียว สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์นํ้าตาลสีเดียว สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์หลายสี การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์หลายสี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สีค่ะ เช่น ดำกับแดง หรือดำกับนํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจะนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย พิมพ์ 2 สี นํ้าตาลกับสีเขียว พิมพ์ 2 สีฟ้ากับสีดำ สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์ 3สี ฟ้าดำและส้ม พิมพ์ 4 สี ฟ้า ดำ ส้มและแดง
พิมพ์สี่สี (แบบสอดสี) ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อย กี่พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตาม ที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้อง ใช้แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพู เหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกันออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้าน สี พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นในนิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่
พิมพ์สีพิเศษ เช่น สีทอง ซึ่งมีหลายทอง แต่ละทองจะให้ความเงาและด้านต่างกัน สีเงินมีเงินมันวาว เงินด้าน และสีพิมพ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่นสีสะท้อนแสง ครับ ถ้าอยากได้งานดีงานสวย ใช้สีพิเศษแล้วต้องยอมจ่ายเพิ่มอีกหน่อยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.savingprint.com และ http://www.ksvision.co.th