ตามรอยอดีตบนแผ่นดินเหนียว

5,149 คนเข้าชม

 

 

 

 

 

จากการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียน (Sumerian) ชนเผ่าผู้มีอำนาจเหนือลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส (Tigris-Euphrates) ได้วางรากฐานอารยธรรมด้านต่างๆ อาทิ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ศิลปกรรม รวมถึงสิ่งสำคัญที่ส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อการบันทึกในเวลาต่อมานั่นก็คือ การคิดประดิษฐ์ตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งชาวสุเมเรียนใช้เวลาหลายศตวรรษในการพัฒนาระบบการเขียน และระบบตาราง (Grid System) ขึ้นมา โดยแบ่งช่องเขียนทั้งแนวนอนและแนวตั้ง อักษรดังกล่าวดัดแปลงมาจากตัวอักษรที่เขียนตามภาพ (Pictograph) ในยุคแรกให้เป็นอักษรที่สื่อความหมายแทนความรู้สึกนึกคิดต่างๆ (Ideograph) เป็นต้นว่าสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์เพื่อสื่อถึงกลางวัน หรือแสงสว่าง เป็นต้น รูปสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดลงบนแผ่นดินเหนียวที่เรียนว่า ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปปลิ่ม ส่วนชื่อคูนิฟอร์มมีที่มาจากภาษาละติน “Cuneus” แปลว่าลิ่ม ตามร่องรอยของการบันทึกที่ทำโดยการใช้ไม้ซึ่งมีลักษณะแบนยาวและมีปลายรูปสามเหลี่ยมคล้ายลิ่ม กดบนดินเหนียวที่ยังไม่แห้ง แล้วจึงนำไปผึ่งแดดหรือเผาในเตาเผาอิฐ

ดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรสตีส หรือที่มีชื่อเรียกว่า เมโสโปเตเมีย (Mesopotamiz) นี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ อันได้แก่ ดินเหนียว ซึ่งนำมาทำอิฐเพื่อใช้ในการสร้างบ้านเรือนและศาสนาสถานต่างๆ ทั้งยังเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับการบันทึก เรื่องราวส่วนใหญ่ที่ชาวสุเมเรียนมักจะถ่ายทอดลงบนแผ่นดินเหนียว ได้แก่ เรื่องการค้าขาย วรรณคดี ศาสนา การทำศึกสงคราม และวรรณกรรมประเภทนิยายต่างๆ ที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ที่สุดในโลก ได้แก่ มหากาพย์กิลกาเมช (The Epic of Gilgamesh) เล่าขานการผจญภัยของกษัตริย์กิลกาเมชแห่งนครอุรุคเป็นภาษาอัคเคเดียนโบราณ

เมื่ออาณาจักรบาบิโลเนีย (Babylonia) เรืองอำนาจขึ้นมาแทนอาณาจักรสุเมเรียนบนดินแดนเมโสโปเตเมีย

ชาวบาบิโลเนียนรับมรดกทางภูมิปัญญาเรื่องการบันทึกสืบต่อมา ทว่าดัดแปลงแก้ไขตัวอักษรคูนิฟอร์มให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตน

ตัวอักษรได้เปลี่ยนดินเหนียวธรรมดาให้ทรงคุณค่ามหาศาลผ่านการจารึก แม้แผ่นดินเหนียวหลายๆ แผ่นเมื่อนำมาวางเรียงกันให้อยู่ในรูปแบบของหนังสือ จะมีความหนาและหนักกว่าหนังสือปัจจุบันนี้มากมายนัก แต่กระนั้นชาวบาบิโลเนียนก็มีความพยายามอันยิ่งยวดที่จะจัดตั้งห้องสมุดขึ้นเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ
อ้างอิงรูปภาพจาก : https://www.facebook.com/NationalGeographicThailand/posts/10160851729420038/

สาระน่ารู้แนะนำ

เมนู

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า